4  การประยุกต์อินทิกรัลในทางเศรษฐศาสตร์

Modified

6 พฤษภาคม 2568

ในบทนี้ผู้อ่านจะได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้การคำนวณเชิงสัญลักษณ์ เพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการอินทิกรัลในทางเศรษฐศาสตร์ ก่อนผู้อ่านศึกษาเนื้อหาบทนี้ ผู้เขียนมีสมมุติฐานว่าผู้อ่านมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการอินทิกรัลมาบ้างแล้ว

การคำนวณพื้นที่ใต้กราฟด้วยผลรวมของพื้นที่สี่เหลี่ยม

การคำนวณพื้นที่ใต้กราฟด้วยผลรวมของพื้นที่สี่เหลี่ยม

4.1 นิยามของอินทิกรัล (Definition of Integral)

อินทิกรัลคือ ผลรวมของปริมาณเล็ก ๆ (“ผลรวมจำกัด” หรือ limit of sums)
เมื่อเราแบ่งช่วงออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ มาก ๆ แล้วเอาพื้นที่ของแต่ละชิ้นมาบวกกัน

นิยาม (Riemann Integral)

ให้ f(x) เป็นฟังก์ชันที่กำหนดบนช่วงปิด [a,b]

  • แบ่งช่วง [a,b] ออกเป็น n ส่วนย่อย โดยให้ a=x0<x1<<xn=b

  • แต่ละช่วงย่อยมีความกว้าง Δxi=xixi1

เลือกจุดหนึ่งในแต่ละช่วง เรียกว่า sample point ci[xi1,xi]

สร้าง ผลรวมรีมันน์ (Riemann Sum):

Sn=i=1nf(ci)Δxi

แล้วทำลิมิต เมื่อจำนวนช่วงเพิ่มขึ้น (n) และความกว้างของช่วงเล็กลง (maxΔxi0)

ถ้าลิมิตนี้มีอยู่และเป็นจำนวนจริงเดียวกันไม่ว่าเลือก ci อย่างไร
เรานิยามว่า abf(x)dx=lim||P||0i=1nf(ci)Δxi โดย ||P|| คือความยาวของช่วงย่อยที่ยาวที่สุด

  • ถ้า f(x) ต่อเนื่องบน [a,b] อินทิเกรตได้แน่นอน

  • ถ้า f(x) มีจุดโดดน้อย ๆ (finite discontinuities) ยังอินทิเกรตได้ (เรียกว่า Riemann integrable)

4.2 ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส (Fundamental Theorem of Calculus)

คือทฤษฏีแสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอนุพันธ์และอินทิกรัล โดยมี 2 ส่วนที่สำคัญคือ

ส่วนที่ 1 (First Fundamental Theorem)

ถ้า f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วง [a,b] และนิยาม F(x)=axf(t)dt

สำหรับ x ใน [a,b] แล้ว
ฟังก์ชัน F(x) จะมีอนุพันธ์ และ

F(x)=f(x) สรุป: การอินทิเกรตแล้วทำอนุพันธ์ได้ฟังก์ชันเดิม

ส่วนที่ 2 (Second Fundamental Theorem)

ถ้า f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วง [a,b] และ F เป็นฟังก์ชันปริมิทีฟ (antiderivative) ของ f (คือ F(x)=f(x))

จะได้ว่า

abf(x)dx=F(b)F(a)

สรุป: การอินทิเกรตจำกัดเขต คือ ค่า F(b) ลบด้วย F(a)

4.3 การหาอินทิกรัลด้วย caracas ใน R

  1. ติดตั้งและโหลดแพ็กเกจ
library(caracas)
  1. กำหนดตัวแปรสัญลักษณ์ (symbolic variables)
x <- symbol("x")
y <- symbol("y")
t <- symbol("t")

(เราต้องสร้างตัวแปรก่อน เช่น x, yือ s)

  1. สร้างฟังก์ชันที่ต้องการอินทิเกรต

ตัวอย่าง

f <- sin(x)  # f(x) = sin(x)
g <- exp(-x)
h <- t^3 + t^2 + 4
  1. ใช้คำสั่ง int() จาก caracas สำหรับการอินทิกรัลไม่จำกัดเขต
int(f, x)

cos(x)

  • f คือฟังก์ชันที่ต้องการอินทิเกรต

  • x คือ ตัวแปรตามที่อินทิเกรต

int(g, x)

ex

int(h, t)

t44+t33+4t

สำคัญ

การอินทิกรัลไม่จำกัดเขต โดยปกติจะบวกค่าคงที่เข้าไปด้วย แต่การอินทิกรัลโดย caracas จะไม่มีการใส่ค่าคงที่

สำหรับการอินทิกรัลจำกัดเขตด้วย caracas ก็ยังใช้คำสั่ง int() เช่นแต่ต้องคำสั่งถายในไปอีก 2 ตัว คือ - lower ค่าที่ใส่ได้ คือ ตัวเลข ตัวแปรจาก caracas และค่าลบอนันต์ ( ในอาร์ใช้ -Inf

  • upper ค่าที่ใส่ได้ คือ ตัวเลข ตัวแปรจาก caracas และค่าอนันต์ ( ในอาร์ใช้ Inf

ตัวอย่างเช่น

แนะนำให้ให้วาดกราฟก่อนทำการหาค่า อินกรัลจำกัดเขต

lowerupperesds

# เปลี่ยนตัวแปร caracas เป็นฟังก์ชันด้วยคำสั่ง as_func()
gs <- as_func(g)
# วาดกราฟด้วยฟังก์ชัน  curve เลือกช่วงที่ต้องการ
curve(gs, from = 0, to = 10, col = "red", ylab = "g(s)", xlab = "s")
# สร้างจุดสำหรับวาดพื้นใต้กราฟ
s <- seq(0, 10, length.out = 500)
y <- gs(s)
# แรเงาพื้นที่ใต้เส้น
polygon(c(s, rev(s)), c(rep(0, length(s)), rev(y)),
        col = "lightblue", border = NA)
grid()

0exdx=1

int(g, x, lower = 0, upper = Inf)

1

0t/2exdx=1et/2

int(g, x, lower = 0, upper = t/2)

1et2

t/2exdx=et/2

int(g, x, lower = t/2, upper = Inf)

et2

4.4 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้อินทิกรัลในทางเศรษฐศาสตร์

1. การหาผลรวมของรายได้หรือกำไร (Total Revenue, Total Profit)
  • ถ้าเราทราบ รายได้ต่อหน่วย หรือ กำไรต่อหน่วย เช่นเป็นฟังก์ชันตามจำนวนหน่วย q

  • การหา รายได้รวม หรือ กำไรรวม ก็คือการอินทิเกรตฟังก์ชันนั้น

ถ้า marginal revenue (รายได้ส่วนเพิ่ม) คือ MR(q)=1002q
รายได้รวม TR(q) คือ TR(q)=MR(q)dq=(1002q)dq=100qq2+C (C คือค่าคงที่ แต่ถ้ากำหนด TR(0)=0 ก็จะได้ C=0)

การคำนวณเชิงสัญลักษณ์ด้วย caracas

# สร้างตัวแปร q 
q <- symbol("q")
# สร้างฟังก์ชัน MR(q)
MR <- 100 - 2*q
MR

1002q

ทำการอินทิกรัลด้วย inv()

TR <- int(MR,q)
TR

q2+100q

อย่าลืม การอินทิกรัลใน caracas จะไม่มีการบวกค่าคงที่

2. การหาพื้นที่ใต้เส้นอุปสงค์และอุปทาน (Consumer Surplus, Producer Surplus)

ส่วนเกินผู้บริโภค (Consumer Surplus) และ ส่วนเกินผู้ผลิต (Producer Surplus)
คำนวณจากพื้นที่ใต้กราฟอุปสงค์และอุปทาน

ถ้าเส้นอุปสงค์คือ P=1202Q และราคาตลาดอยู่ที่ P=60
ส่วนเกินผู้บริโภค (CS) คือพื้นที่ใต้เส้นอุปสงค์จาก Q=0 ถึงปริมาณที่สมดุล Q:

CS=0Q(1202Q)dQ(60×Q)

แก้สมการหาค่า Q ด้วย caracas แม้ว่าจะเป็นสมการง่ายๆ ก็ตาม

# สร้างตัวแปร Q
Q <- symbol("Q")
# ที่ P = 60 จะได้
f <- 60-120+2*Q
solve_sys(f,Q)
Q = 30

ดังนั้น ที่ P=60 จะได้ Q=30 ดังนั้น การอินทิกรัลด้วย caracas จะได้

วาดกราฟเพื่อดูการอินทิกรัล

Pq <- as_func(120-2*Q)
#วาดกราฟ P =120-2Q
curve(Pq, from = 0, to =60, ylab ="P", xlab ="Q", col = "blue")
#เพิ่มกราฟ P = 60
curve(60+0*x,from = 0, to = 60, col = "red", add =TRUE)
# สร้างจุดสำหรับวาดพื้นใต้กราฟ
s <- seq(0, 30, length.out = 500)
y <- Pq(s)
# แรเงาพื้นที่ใต้เส้น
polygon(c(s, rev(s)), c(rep(60, length(s)), rev(y)),
        col = "lightblue", border = NA)
legend("bottomleft",c("P=120-2Q","P=60"), col= c("blue","red"), lty =1)

grid()

ทำการหาพื้นที่ใต้กราฟ

# สร้างตัวแปร q
q <- symbol("q")
f <- (120-2*q)-60
int(f,q,0,30)

900

จะได้ค่า consumer surplus เท่ากับ 900

3. การคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value, NPV)
  • การวิเคราะห์การลงทุน เมื่อ กระแสเงินสด เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามเวลา t

  • ใช้ การอินทิเกรต เพื่อหามูลค่าปัจจุบันรวม

ถ้ากระแสเงินสด C(t)=100e0.05t ต่อปี, อัตราดอกเบี้ย r=0.08 ต่อปี
มูลค่าปัจจุบันสุทธิจากปี 0 ถึง 10 ปี คือ

NPV=010C(t)(1+r)tdt

การคำนวณเชิงสัญลักษณ์ด้วย caracas

# สร้างตัวแปร t, C และ r
t <- symbol("t")
r <- symbol("r")
C <- 100*exp(0.05*t)
PV <- C/(1+r)^t
PV

100(r+1)te0.05t

แทนค่า r=0.08 ลงไปฟังก์ชัน PV

PV <- subs(PV, r,  0.08)

1001.08te0.05t

วาดกราฟ

PVx <- as_func(PV)
#วาดกราฟ P =120-2Q
curve(PVx, from = 0, to =100, ylab ="PV", xlab ="t", col = "blue")
s <- seq(0, 10, length.out = 500)
y <- PVx(s)
# แรเงาพื้นที่ใต้เส้น
polygon(c(s, rev(s)), c(rep(0, length(s)), rev(y)),
        col = "lightblue", border = NA)
grid()

หมายเหตุ เลือกวาดกราฟ ให้ t มีขนาดยาวเพื่อให้เห็นเส้นโค้งชัดเจน

แสดงสมการอินทิกรัล

int(PV,t, lower = 0, upper = 10, doit = FALSE)

0101001.08te0.05tdt

หาค่า NPV

int(PV,t, lower = 0, upper = 10)

876.535303483947

4. การกระจายความเสี่ยง (Risk Distribution)
  • ในเศรษฐศาสตร์การเงิน การหาความน่าจะเป็นสะสม (CDF) จากฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็น (PDF)
    ต้องใช้ การอินทิเกรต ฟังก์ชัน PDF

ถ้าอัตราผลตอบแทนสุทธิ r มีการกระจายแบบปกติ f(r)
แล้วต้องการหาความน่าจะเป็นที่ผลตอบแทนมากกว่าค่าเฉลี่ย ก็อินทิเกรต f(r) จากค่าเฉลี่ยขึ้นไป

P(r>μ)=μf(r)dr

ฟังก์ชันการแจกแจงแบบปกติคือ f(x)=1σ2πexp((xμ)22σ2),μR,σ2>0

อินทิกรัลเชิงสัญลักษณ์ด้วยการไม่ใส่ตัวเลขใดๆ จะได้

mu <- symbol("mu")
sigma <- symbol("sigma")
pi <-symbol("pi")
x <- symbol("x")
f <- (1/(sigma*sqrt(2*pi))) * exp(-((x - mu)^2) / (2*sigma^2))
f

2e(μ+x)22σ22πσ

int(f,x, lower = mu, upper = Inf)

2eμ22σ2μex22σ2eμxσ2dx2πσ

เมื่อทดลองแทนค่า μ=0.1 σ=0.05 และ π = pi

f <- subs(f, list(mu = 0.01, sigma =0.05))
f

10.02e200.0(x0.01)2π

เนื่องจากภาษาอาร์ pi คือตัวแปรของค่าคงของค่าพาย แต่เนื่องจากมีกำหนดให้ pi คือแปรใหม่ที่สร้างจาก caracas ดังนั้นต้องดึงค่าคงพายจากชุดคำสั่ง base มาใช้ด้วยคำสั่ง base::pi <ชุดคำสั่ง::ฟังก์ชัน/ค่าคงที่ที่ต้องการใช้>

ทำการอินทิกรัลจะได้

int(f,x, lower = 0.01, upper = Inf)

0.3535533905932742ππ

ถ์้าต้องการเป็นตัวเลขจะได้

N(subs(int(f,x, lower = 0.01, upper = Inf), pi, base::pi))

0.5

ซึ่งเป็นค่าที่ถูกต้องตามทฤษฏี

4.5 แบบฝึกหัดอินทิกรัลในเศรษฐศาสตร์

ให้ใช้ caracas ในการหาคำตอบ

  1. เส้นอุปสงค์ของสินค้าคือ P=1002Q และราคาตลาดคือ P=60 จงหาพื้นที่ส่วนเกินของผู้บริโภค (Consumer Surplus)

  2. สมการอุปทานคือ P=10+Q และราคาตลาดคือ P=40 จงหาส่วนเกินผู้ผลิต (Producer Surplus)

  3. ฟังก์ชันต้นทุนเพิ่ม (Marginal Cost) คือ MC(Q)=6Q จงหาต้นทุนรวมในการผลิต 5 หน่วย

  4. ฟังก์ชันรายได้เพิ่ม (Marginal Revenue) คือ MR(Q)=1004Q จงหาค่ารายได้รวมเมื่อขาย 10 หน่วย

  5. สมการอุปสงค์คือ P=80Q, จงคำนวณ Consumer Surplus เมื่อราคาตลาดคือ 50

  6. กำหนดฟังก์ชันต้นทุนเฉลี่ย AC(Q)=20+100Q จงหาต้นทุนรวมเมื่อผลิต 5 หน่วย โดยใช้การอินทิกรัล

  7. รายได้รวมจากการขายคือ R(Q)=Q(60Q) จงหาผลรวมรายได้จากการขายสินค้าจำนวน 0 ถึง 10 หน่วย

  8. พื้นที่ใต้เส้นโค้ง f(x)=x2+3x จาก x=1 ถึง x=5 คือเท่าใด?

  9. ให้ C(Q)=4Q2+2 คือ MC จงหาค่า TC(Q) โดยการอินทิกรัล และหา TC เมื่อ Q=3

  10. ผู้ผลิตมีรายได้ต่อหน่วย P=50, ขายได้ Q=0 ถึง Q=20 หน่วย จงหาผลรวมรายได้ทั้งหมดด้วยอินทิกรัล

  11. ฟังก์ชัน f(x)=ex ให้คำนวณพื้นที่ใต้เส้นกราฟจาก x=0 ถึง x=1

  12. ถ้าผู้บริโภคได้รับอรรถประโยชน์ตามฟังก์ชัน U(Q)=0Q(1002q)dq จงหา U(20)

  13. ถ้า MC(Q)=5, จงคำนวณต้นทุนรวมในการผลิต 10 หน่วย

  14. ให้ MR(Q)=20010Q หาผลรวมรายได้ (TR) เมื่อ Q=0 ถึง Q=15

  15. ฟังก์ชัน f(q)=ln(q+1) คำนวณพื้นที่ใต้เส้นกราฟนี้จาก q=0 ถึง q=3

  16. ถ้าอุปสงค์คือ P=1203Q, ราคาตลาดคือ P=60 จงหาส่วนเกินผู้บริโภค

  17. ผู้ผลิตมีต้นทุนเพิ่ม MC=2Q+5, ไม่มีต้นทุนคงที่ หาค่าต้นทุนรวมเมื่อผลิต 8 หน่วย

  18. ถ้าฟังก์ชันผลผลิตชายขอบคือ MP(L)=100.5L, ให้หาผลผลิตรวมเมื่อใช้แรงงาน 0 ถึง 10 หน่วย

  19. เส้นอุปสงค์และอุปทานตัดกันที่ Q=20, ให้ Pd=100Q, Ps=20+Q จงหาส่วนเกินผู้บริโภคและผู้ผลิต

  20. ถ้ารายได้เฉลี่ย AR(Q)=600.5Q, จงหาผลรวมรายได้ทั้งหมดจาก 0 ถึง 20 หน่วย