4 โครงสร้างโปรแกรมแบบเลือกทำ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบเลือกทำโดยใช้คำสั่ง if ได้
เพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบเลือกทำโดยใช้คำสั่ง if-else ได้
เพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบเลือกทำโดยใช้คำสั่ง if หลายชั้นได้
เพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบเลือกทำโดยใช้คำสั่ง switch-case ได้
เพื่อให้สามารถกำหนดเงื่อนไขในการเลือกทำได้อย่างเหมาะสม
การเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาที่มีการตัดสินใจได้จำเป็นต้องอาศัยคำสั่งในการเลือกทำและการสร้างเงื่อนไขในการตัดสินใจทำให้คอมพิวเตอร์มีความฉลาดสามารถที่จะตัดสินใจแทนมนุษย์ได้ ดังนี้ในบทนี้จะกล่าวถึงการเขียนโปรแกรมแบบเลือกทำโดยใช้คำสั่ง if, if-else, if หลายชั้น และ switch-case
4.1 คำสั่ง IF
ในชีวิตประจำวันคนเรามีการตัดสินใจที่จะเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำอยู่ตลอดเวลา เช่น “ถ้าฝนตกจึงจะใส่เสื้อกันฝน” แสดงว่าถ้าฝนไม่ตกจะไม่ใส่เสื้อกันฝน เป็นการตั้งเงื่อนไขว่าถ้าฝนตกจริงจึงจะใส่เสื้อฝน, หรือพ่อบอกลูกว่าถ้าได้เกรดเฉลี่ย 4.00 จะซื้อรถจักรยานยนต์ให้ ในกรณีนี้พ่อจะซื้อรถจักรยานยนต์ให้ลูกเมื่อลูกได้เกรดเฉลี่ย 4.00 เท่านั้น ถ้าลูกไม่ได้เกรด 4.00 หรือเงื่อนไขไม่เป็นจริงจะไม่ทำตามที่บอกไว้ เป็นต้น ในการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ โดยใช้คำสั่ง if จะมีลักษณะคือถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจึงจะทำคำสั่งที่กำหนด คำสั่ง if มีรูปแบบไวยากรณ์ดังนี้
เงื่อนไขที่เป็นนิพจน์ตรรกะจะถูกตรวจสอบถ้าเงื่อนไขเป็นจริงหรือให้ค่าความจริงเป็นจริงจึงจะทำคำสั่งในภายใน if และเพื่อให้ทราบถึงบล็อกของคำสั่งที่ต้องดำเนินการเมื่อเงื่อนไขของคำสั่ง if เป็นจริงจะต้องเขียนคำสั่งอยู่ภายใต้เรื่องหมาย { และเครื่องหมาย } ยกเว้นกรณีที่มีคำสั่งเดียวไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย { และเครื่องหมาย } ได้ ผังงานของคำสั่ง if เป็นดังนี้
จากตัวอย่างที่ 4.1 โปรแกรมจะไม่พิมพ์ค่าใด ๆ ออกทางจอภาพเพราะตัวแปร rain มีค่าเป็น false ทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จ ดังนั้นคำสั่ง System.out.println(“Wear rain coat.”); ไม่ถูกทำงานจึงไม่มีการพิมพ์ข้อความ วัตถุประสงค์การทำงานของโปรแกรมนี้คือเมื่อตัวแปร rain มีค่าเป็น true จะพิมพ์ข้อความว่า Wear rain coat แต่ถ้าเป็น false จะไม่พิมพ์ข้อความ ดังผังงานต่อไปนี้
จากโปรแกรมในตัวอย่างที่ 4.2 ผลการทำงานจะขึ้นอยู่กับค่า age ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปยังโปรแกรม ตัวอย่างผลลัพธ์เป็นดังนี้
จากตัวอย่างที่ 4.3 เงื่อนไขเป็นจริงเนื่องจาก 200 >= 180 จึงทำคำสั่งที่อยู่ภายใน if คือคำนวณค่า cash = 200 – 180 = 20 และพิมพ์ข้อความว่า Buy book แล้วจึงพิมพ์ข้อความว่า Cash = 20
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการใส่คำสั่ง if หลายคำสั่งต่อเนื่องกันเพื่อให้มีการตรวจสอบเงื่อนไขหลายครั้ง
จากโปรแกรมในตัวอย่างที่ 4.4 ผลการทำงานจะขึ้นอยู่กับค่า age ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปยังโปรแกรม ตัวอย่างผลลัพธ์เป็นดังนี้
ตัวอย่าง 4.4 มีการตรวจสอบเงื่อนไข 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกตรวจสอบว่า age > 60 หรือไม่ ถ้าเป็นจริงจะทำคำสั่ง description = “old”; ต่อมาตรวจสอบเงื่อนไขครั้งที่สองคือ age <= 60 หรือไม่ ถ้าเป็นจริงจะทำคำสั่ง description = “not old”;
4.2 คำสั่ง IF-ELSE
การตัดสินใจแบบเลือกโดยทำการเลือกระหว่างสองทางเลือก เช่น ถ้าได้รับคะแนนตั้งแต่ 50 คะแนนขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน แต่ถ้าไม่ใช่แสดงว่าสอบตก เป็นต้น การเขียนโปรแกรมแบบเลือกโดยมีสองทางเลือกซึ่งถ้าจริงจะทำอย่างหนึ่งและถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะทำอีกอย่างหนึ่งใช้คำสั่ง if-else ที่มีรูปแบบไวยากรณ์ดังนี้
เงื่อนไขที่เป็นนิพจน์ตรรกะจะถูกตรวจสอบถ้าเงื่อนไขเป็นจริงหรือให้ค่าความจริงเป็นจริงจึงจะทำคำสั่งในภายใน if แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะทำคำสั่งที่ else ผังงานของคำสั่ง if-else เป็นดังนี้
จากโปรแกรมในตัวอย่างที่ 4.5 ผลการทำงานจะขึ้นอยู่กับค่า age ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปยังโปรแกรม ตัวอย่างผลลัพธ์เป็นดังนี้
ตัวอย่าง 4.5 มีการตรวจสอบเงื่อนไขว่า age > 60 หรือไม่ ถ้าเป็นจริงจะทำคำสั่ง description = “old”; ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะทำคำสั่ง description = “not old”; ดังนั้นกรณี age = 20 ทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จ (เพราะ 20 ไม่ได้มากกว่า 60) โปรแกรมจึงทำคำสั่ง description = “not old”; กรณีที่ age = 80 ทำให้เงื่อนไขเป็นจริง (เพราะ 80 มากกว่า 60) โปรแกรมจึงทำคำสั่ง description = “old”; และกรณี age = 60 ทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จ (เพราะ 60 ไม่ได้มากกว่า 60) โปรแกรมจึงทำคำสั่ง description = “not old”;
กลุ่มของคำสั่งที่สังกัดอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ if หรืออยู่ภายใน else จะต้องจัดกลุ่มหรือสร้างบล็อกของคำสั่งด้วยการใส่เครื่องหมาย { และเครื่องหมาย } ครอบ ตัวอย่างเช่นส่วนของโปรแกรมต่อไปนี้
จากตัวอย่างที่ 4.6 เงื่อนไข cash >= price เป็นเท็จเนื่องจากค่าในตัวแปร cash คือ 200 ไม่ได้มากกว่าหรือเท่ากับค่าในตัวแปร price คือ 380 จึงทำคำสั่งที่ else คือพิมพ์ข้อความว่า Use card
4.3 คำสั่ง IF หลายชั้น
ในบางปัญหาจะต้องมีการตัดสินใจหลายเงื่อนไขโดยเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง if ซ้อนอยู่ใน if ซ้อนกันหลายชั้น ทำให้การทำงานมีความซับซ้อนขึ้น รูปแบบหนึ่งของคำสั่ง if หลายชั้น คือ ถ้าเงื่อนไขไปเป็นจริงจะทำคำสั่งใน if แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขอื่นต่อไป รูปแบบคำสั่งแบบ if-else-if มีไวยากรณ์ดังนี้
การซ้อนกันลักษณะนี้มองว่าเป็นการซ้อนกันของคำสั่ง if เพียง 1 กลุ่ม การซ้อนกันของคำสั่ง if ในรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับปัญหานั้นว่าจะต้องมีเงื่อนไขซ้อนกันกี่ชั้น รูปแบบคำสั่ง if หลายชั้นข้างต้นมีผังงานเป็นดังนี้
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่ง if หลายชั้นแบบ if-else-if ในการตัดเกรดโดยมีเงื่อนไข คือ
คะแนนตั้งแต่ 80 ขึ้นไปได้เกรด A
คะแนนตั้งแต่ 70 ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 80 ได้เกรด B
คะแนนตั้งแต่ 60 ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 70 ได้เกรด C
คะแนนตั้งแต่ 50 ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 60 ได้เกรด D
คะแนนไม่ถึง 50 ได้เกรด E
ผลลัพธ์ของโปรแกรมจะขึ้นอยู่กับคะแนนที่ผู้ใช้ป้อน เช่น
นอกจากนี้คำสั่ง if หลายชั้นรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังสามารถเขียนในรูปแบบอื่น ๆ เช่น
ผังงานของส่วนของโปรแกรมข้างต้นเป็นดังนี้
ดังนั้นการทำงานตามส่วนของโปรแกรมในตัวอย่างที่ 4.8 กรณี age = 20 และ weight = 40 ค่าของ description = “OK” กรณี age = 80 และ weight = 100 ค่าของ description = “Very Good”
ผังงานของส่วนของโปรแกรมข้างต้นเป็นดังนี้
จากตัวอย่างที่ 4.9 ส่วนของโปรแกรมนี้ในส่วนของคำสั่ง if แรกที่มีเงื่อนไขคือ (age >60) เป็น if อย่างง่ายที่ไม่มี else ส่วนคำสั่ง if ต่อมาซึ่งมีเงื่อนไขคือ (age > 40) เป็นคำสั่งคนละกลุ่มกัน
4.4 เงื่อนไขในการเลือกทำ ตัวดำเนินการ และนิพจน์ตรรกะ
คำสั่ง if และ if-else ซึ่งใช้เพื่อควบคุมการทำงานแบบเลือกในโปรแกรมจะต้องใช้การทดสอบเงื่อนไขที่เขียนอยู่ในรูปของนิพนจน์ตรรกะซึ่งให้ค่าความจริงเป็นจริง (true) หรือเท็จ (false) นิพจน์ตรรกะนี้สามารถสร้างขึ้นด้วยการใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ ได้แก่
> แทนการเปรียบเทียบ มากกว่า
= แทนการเปรียบเทียบ มากกว่าหรือเท่ากับ
< แทนการเปรียบเทียบ น้อยกว่า
<= แทนการเปรียบเทียบ น้อยกว่าหรือเท่ากับ
== แทนการเปรียบเทียบ เท่ากับ
!= แทนการเปรียบเทียบ ไม่เท่ากับ
และสามารถเชื่อมนิพจน์เหล่านี้ด้วยตัวดำเนินการตรรกะ เช่น และ (&&), หรือ (||) , นิเสธ (!) เป็นต้น ซึ่งได้กล่าวถึงไปแล้วในบทที่ 3 เรื่องตัวดำเนินการ ในบทนี้จะเห็นได้ว่าคำสั่งในการเลือกและเงื่อนไขจะทำให้เราสามารถเขียนโปรแกรมในการแก้ไขปัญหาได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากส่วนของโปรแกรมในตัวอย่างที่ 4.10 มีตัวอย่างการทำงานดังนี้
ถ้า age มีค่าเป็น 65 และ weight มีค่าเป็น 70 แล้ว description = “Good”;
ถ้า age มีค่าเป็น 45 และ weight มีค่าเป็น 70 แล้ว description = “Medium”;
ถ้า age มีค่าเป็น 65 และ weight มีค่าเป็น 90 แล้ว description = “Medium”;
ถ้า age มีค่าเป็น 45 และ weight มีค่าเป็น 90 แล้ว description = “Medium”;
จากส่วนของโปรแกรมในตัวอย่างที่ 4.11 มีตัวอย่างการทำงานดังนี้
ถ้า age มีค่าเป็น 65 และ weight มีค่าเป็น 70 แล้ว description = “Good”;
ถ้า age มีค่าเป็น 45 และ weight มีค่าเป็น 70 แล้ว description = “Good”;
ถ้า age มีค่าเป็น 65 และ weight มีค่าเป็น 90 แล้ว description = “Good”;
ถ้า age มีค่าเป็น 45 และ weight มีค่าเป็น 90 แล้ว description = “Medium”;
สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาด้วยโปรแกรมประการหนึ่งคือนักเขียนโปรแกรมจะต้องสามารถแปลงปัญหาให้อยู่ในรูปแบบขั้นตอนวิธีที่เหมาะสมได้ และสามารถเขียนเงื่อนไขที่ถูกต้องได้
ตัวอย่างเช่น หากต้องการเปรียบเทียบค่าของตัวแปร x ว่ามีค่าอยู่ในช่วง 10 ถึง 80 หรือไม่ต้องเขียนนิพจน์อย่างไรเมื่อต้องการให้ 10 <= x <= 80 สำหรับการสร้างนิพจน์ตรรกะเพื่อตรวจสอบเงื่อนไขนี้ควรเขียนดังนี้คือ (x >= 10) && (x <= 80) เป็นการสร้างเงื่อนไขโดยใช้ 2 นิพจน์ซึ่งสร้างขึ้นด้วยตัวดำเนินการเปรียบเทียบ นิพจน์แรกเป็นการเปรียบเทียบว่า x มากกว่าหรือเท่ากับ 10 หรือไม่ และนิพจน์ที่สองเป็นการเปรียบเทียบว่า x น้อยกว่าหรือเท่ากับ 80 หรือไม่ แล้วเชื่อมทั้งสองนิพจน์นี้ด้วยตัวดำเนินการตรรกะคือ และ (&&)
นอกจากนี้แล้วในปัญหาจริงอาจมีการใช้ข้อความบรรยายเพื่อแสดงถึงเงื่อนไขได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การอธิบายถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ (income)
รายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เงื่อนไขที่ควรจะใช้คือ income >= 10000
รายได้ไม่น้อยกว่า 10,000 บาท เงื่อนไขที่ควรจะใช้คือ income >= 10000
รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท เงื่อนไขที่ควรจะใช้คือ income <= 10000
รายได้ไม่ถึง 10,000 บาท เงื่อนไขที่ควรจะใช้คือ income < 10000
เป็นต้น
4.5 คำสั่ง SWITCH-CASE
การเขียนคำสั่ง if แบบหลายชั้นโดยใช้คำสั่ง if-else ต่อกันไปเรื่อย ๆ หรือรูปแบบ if-else-if สามารถนำคำสั่ง switch-case มาใช้แทนได้ในกรณีที่ต้องการเปรียบเทียบค่าตัวเลขจำนวนเต็ม, ตัวอักษร หรือข้อความว่ามีค่าตรงตามที่กำหนดหรือไม่ (เปรียบเทียบว่าเท่ากันหรือไม่) รูปแบบของคำสั่ง switch-case เป็นดังนี้
ชนิดของข้อมูลของนิพจน์ตัวแปรใน switch จะต้องเป็นชนิด char, byte, short, int หรือ String เท่านั้น
ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่ง switch-case เพื่อแสดงข้อความป้อนกลับจากระดับขึ้นหรือเกรดที่ได้รับโดยมีเงื่อนไข ดังนี้
ได้เกรด A ให้แสดงข้อความคือ “Very good”
ได้เกรด B ให้แสดงข้อความคือ “Good”
ได้เกรด C ให้แสดงข้อความคือ “Fair”
ได้เกรด D ให้แสดงข้อความคือ “Bad”
ได้เกรด E ให้แสดงข้อความคือ “Very bad”
ถ้าไม่ตรงกับเกรดได้เลยให้แสดงข้อความว่า “No feedback”
โปรแกรมตัวอย่างที่ 4.12 จะเหมือนกับการใช้คำสั่ง if-else-if ในตัวอย่างที่ 4.13 ดังนี้
การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่ง switch-case ต้องระวังในเรื่องการใส่คำสั่ง break เนื่องจากคำสั่ง breakเป็นคำสั่งที่ทำให้ยุติการทำงานใน switch-case แล้วออกไปทำคำสั่งอื่นนอก switch-case แต่ถ้าไม่มีคำสั่ง break โปรแกรมจะไปทำคำสั่งใน case อื่นต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบคำสั่ง break หรือจนกว่าถึงคำสั่งสุดท้ายใน switch-case ดังตัวอย่างที่ 4.14
ผลลัพธ์ของโปรแกรมจะขึ้นอยู่กับเกรดที่ผู้ใช้ป้อน ดังนี้
อธิบายการทำงานได้ดังนี้ กรณีเกรดเท่ากับ A ไม่มีคำสั่งอื่นและไม่มีคำสั่ง break จึงมาทำคำสั่งในกรณีถัดไปคือกรณีเกรดเท่ากับ B แล้วเมื่อพบคำสั่ง break จึงจบการทำงานใน switch-case
อธิบายการทำงานได้ดังนี้ กรณีเกรดเท่ากับ C พิมพ์ข้อความว่า Fair แต่ไม่มีคำสั่ง break จึงมาทำคำสั่งในกรณีถัดไปคือกรณีเกรดเท่ากับ D คือพิมพ์ข้อความว่า Bad แล้วเมื่อพบคำสั่ง break จึงจบการทำงานใน switch-case
อธิบายการทำงานได้ดังนี้ กรณีเกรดเท่ากับ E พิมพ์ข้อความว่า Very bad แต่ไม่มีคำสั่ง break จึงมาทำคำสั่งในกรณี default คือพิมพ์ข้อความว่า No feedback จึงจบการทำงานใน switch-case
คำสั่งที่อยู่ใน switch-case สามารถที่จะเป็นคำสั่งใดก็ได้ ดังตัวอย่างที่ 4.15 เป็นส่วนของโปรแกรมที่แสดงให้เห็นว่าในคำสั่ง switch-case สามารถมีคำสั่ง if-else ซ้อนอยู่ภายในได้
ตัวอย่างโปรแกรมแปลงหน่วยเงินโดยให้ผู้ใช้เลือกตัวเลือกชนิดของหน่วยเงินที่ต้องการแปลงและป้อนค่าเงินที่เป็นบาท เป็นดังตัวอย่างที่ 4.16
4.6 แบบฝึกหัด
- ให้ใช้ส่วนของโปรแกรมต่อไปนี้เพื่อตอบคำถาม
ให้ใช้ส่วนของโปรแกรมต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 1.1 - 1.3
1.1 หาค่า x ถ้ากำหนดให้ a = 7 และ b = 7 x = _______________
1.2 หาค่า x ถ้ากำหนดให้ a = 9 และ b = 8 x = _______________
1.3 หาค่า x ถ้ากำหนดให้ a = 7 และ b = 4 x = _______________
ใช้ส่วนของโปรแกรมต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 1.4 - 1.7
1.4 หาค่าของ n เมื่อ x = 4, y = 4 และ z = 4 n = _______________
1.5 หาค่าของ n เมื่อ x = 8, y = 9 และ z = 8 n = _______________
1.6 หาค่าของ n เมื่อ x = 10, y = 6 และ z = 1 n = _______________
1.7 หาค่าของ n เมื่อ x = 4, y = 4 และ z = 1 n = _______________
ใช้ส่วนของโปรแกรมต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 1.8 - 1.12
1.8 ถ้า answer = 2 และ y = 18 ผลลัพธ์ของโปรแกรมคืออะไร
________________________________________________________________________
1.9 ถ้า answer = 15 และ y = 10 ผลลัพธ์ของโปรแกรมคืออะไร ________________________________________________________________________
1.10 ถ้า answer = 8 และ y = 8 ผลลัพธ์ของโปรแกรมคืออะไร
________________________________________________________________________
1.11 ถ้า answer = 3 และ y = 1 ผลลัพธ์ของโปรแกรมคืออะไร
________________________________________________________________________
1.12 ถ้า answer = 6 และ y = 8 ผลลัพธ์ของโปรแกรมคืออะไร
________________________________________________________________________
- ให้เขียนโปรแกรมเงินสำรองเลี้ยงชีพ (provident fund) ของบริษัทจาวาจาวาจำกัด โปรแกรมมีการรับข้อมูลเงินเดือน (salary) ของพนักงาน และรับค่าคอมมิชชั่น (commission) จากการขาย แล้วนำมาคำนวณหาเงินสำรองเลี้ยงชีพที่พนักงานต้องถูกหัก พนักงานขายจะมีรายรับ (income)
จากเงินเดือนบวกกับค่าคอมมิชชั่น และจำนวนเงินสำรองเลี้ยงชีพที่พนักงานต้องถูกหัก พิจารณาจากจำนวนรายรับทั้งหมด ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
รายรับทั้งหมดไม่เกิน 10,000 บาท ยกเว้นไม่ต้องหักเงินสำรองเลี้ยงชีพ
รายรับทั้งหมดมากกว่า 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท หักเงินสำรองเลี้ยงชีพ 2% ของรายได้ทั้งหมด
รายรับทั้งหมดมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป หักเงินสำรองเลี้ยงชีพ 5% ของรายได้ทั้งหมด
การทำงานของโปรแกรมนี้จะมีการคำนวณหาเงินสำรองเลี้ยงชีพที่ต้องหัก และแสดงผลลัพธ์ของจำนวนเงินสำรองเลี้ยงชีพออกทางจอภาพ
ให้เขียนโปรแกรมเพื่อพิจารณากำหนดสถานะภาพของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี ฉบับล่าสุด
ให้เขียนโปรแกรมแสดงข้อความ “Enter day (1,2,3,4,5,6 or 7):” เพื่อรับค่าและแสดงข้อความตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ถ้าผู้ใช้กด 1, โปรแกรมจะแสดงผล “Day = Monday”
ถ้าผู้ใช้กด 2, โปรแกรมจะแสดงผล “Day = Tuesday”
ถ้าผู้ใช้กด 3, โปรแกรมจะแสดงผล “Day = Wednesday”
ถ้าผู้ใช้กด 4, โปรแกรมจะแสดงผล “Day = Thursday”
ถ้าผู้ใช้กด 5, โปรแกรมจะแสดงผล “Day = Friday”
ถ้าผู้ใช้กด 6, โปรแกรมจะแสดงผล “Day = Saturday”
ถ้าผู้ใช้กด 7, โปรแกรมจะแสดงผล “Day = Sunday”
ถ้าผู้ใช้กดเลขอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 1,2,3,4,5,6, หรือ 7, โปรแกรมจะแสดงผล “Day = Wrong Day”
4.1 ให้เขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง if-else
4.2 ให้เขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง switch-case
ให้เขียนโปรแกรมเพื่อทำการรับค่าชื่อทีมจำนวน 2 ทีม และผลคะแนนประตูได้เสียของทั้งสองทีมตามลำดับ แล้วทำการสรุปผลการแข่งขัน ดังตัวอย่างโปรแกรมต่อไปนี้
ให้เขียนโปรแกรมเพื่อรับค่าตัวเลขจำนวนเต็ม 2 จำนวน และตัวเลือกของการดำเนินการ แล้วนำมาเก็บในตัวแปร num1, num2 และ choice โดยมีการดำเนินการดังนี้
ถ้าผู้ใช้กดเครื่องหมาย + โปรแกรมจะนำตัวเลขทั้งสองตัวมาบวกกัน และแสดงผลบวก
ถ้าผู้ใช้กดเครื่องหมาย - โปรแกรมจะนำตัวเลขทั้งสองตัวมาลบกัน และแสดงผลลบ
ถ้าผู้ใช้กดเครื่องหมาย * โปรแกรมจะนำตัวเลขทั้งสองตัวมาคูณกัน และแสดงผลคูณ
ถ้าผู้ใช้กดเครื่องหมาย / โปรแกรมจะนำตัวเลขทั้งสองตัวมาหารกัน และแสดงผลหาร
ถ้าผู้ใช้กดเครื่องหมาย > โปรแกรมจะนำตัวเลขทั้งสองตัวมาเปรียบเทียบว่า num1 มากกว่า num2 หรือไม่ แล้วแสดงผลการเปรียบเทียบ
ถ้าผู้ใช้กดตัวอักษรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ +, -, *, /, หรือ > โปรแกรมจะแสดงผลข้อความว่า Wrong Choice